ภาษา C
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่มีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมาก และเป็นภาษาที่มักถูกเลือกเป็นเครื่องมือสอนเขียนโปรแกรม ไม่ใช่เพราะว่าภาษาซีเป็นภาษาที่เขียนง่ายที่สุด แต่เพราะว่ารูปแบบการเขียนโปรแกรมของภาษาซีค่อนข้างมีระเบียบแบบแผน และเป็นภาษาที่เป็นพื้นฐานของภาษาโปรแกรมอื่นจึงทำให้เป็นภาษาระดับสูง แต่พิเศษกว่าภาษาระดับสูงภาษาอื่นตรงที่สามารเขียนโปรแกรมติดต่อฮาร์ดแวร์ได้โดยตรง
ความเป็นมาของภาษาC
เนื่องจากภาษาแอสเซมบลี (Assembly) เป็นภาษาที่ค่อนข้างยากกอปรกับความเฉพาะตัวของภาษาที่ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ที่รันโปรแกรม ด้วยข้อเสียนี้ทำให้มีการคิดค้นภาษาที่ไม่ขึ้นอยู่กับสถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ (machine independence) ขึ้นมาใช้งานบนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ (Unix) ในค.ศ. 1972 เดนนิส ริชชี (Dennis Ritchie) จึงพัฒนาภาษาซีขึ้นมาโดยพัฒนามาจากภาษา B และภาษา BCPL (Basic Combine Programming Language) แรกเริ่มนั้นพัฒนาให้เขียนโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เท่านั้น
ต่อมาในปี ค.ศ. 1978 ภาษาซีได้รับความนิยมมากขึ้น เดนนิส จึงได้ร่วมกับ เบรน เคอร์นิกแฮน (Brain Kernighan) ได้แต่งหนังสือ “The C Programming Language “ โดยนำเสนอภาษา C ที่สามารถนำมาปรับใช้กับคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆได้มายิ่งขึ้น จนกระทั่ง ในปี ค.ศ. 1988 ภายใต้สถาบัน American National Standards โดยพัฒนามาตรฐานภาษาซีขึ้นมาใหม่ เพื่อให้ใช้งานได้ครอบคลุมคอมพิวเตอร์ในแบบต่างๆมากยิ่งขึ้น เรียกชื่อมาตรฐานของภาษาซีนี้ว่า ANSI C หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1990 องค์การมาตรฐานสากล หรือ ISO ได้ยอมรับมาตรฐานที่ได้สร้างขึ้นมานี้ภายใต้ชื่อ ANSI/ISO C ภาษาซีจึงแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ มีบริษัทพัฒนาคอมไพเลอร์ภาษาซีออกมาอีกหลายบริษัท เช่น Borland C และ Turbo C
จุดเด่นของภาษา C
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่มีแนวคิดในการพัฒนาแบบ “โปรแกรมเชิงโครงสร้าง (Structure Programming) “ ทำให้ภาษา C เป็นภาษที่เหมาะสำหรับนำมาพัฒนาระบบ
- เป็นภาษาคอมพิวเตอร์ที่เป็นมาตรฐาน ซึ่งการทำงานของภาษาไม่ขึ้นกับฮาร์ดแวร์ ทำให้สามารถนำไปใช้ใน CPU รุ่นต่างๆ ได้
- เป็นภาษาระดับสูงที่ทำงานเหมือนภาษาระดับต่ำ สามารถทำงานแทนภาษา Assembly ได้
- ความสามารถของคอมไพเลอร์ในภาษา C มีประสิทธิภาพสูง ทำงานได้รวดเร็ว โดยใช้รหัสออบเจ็กต์ที่สั้น จึงทำให้เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความรวดเร็ว
ที่มา : คู่มือเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซี , เวชยันต์ สังข์จุ้ย , สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 2554
คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา C , ไกรศร ตั้งโอภากุล , กิตตินันท์ พลสวัสดิ์ , บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น